วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฟ้อนลาวดวงเดือน
ฟ้อนดวงเดือน


 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จะพระราชทานเลี้ยงพระราชอาคันตุกะเป็นการส่วนพระองค์ที่พระที่นั่งบรมพิมาน  โปรดเกล้าฯให้ ศจ.มนตรี  ตราโมท  จัดปี่พาทย์บรรเลงขณะเสวย  และให้นาฏศิลป์แสดงหลังจากเสวยพระกระยาหารแล้ว  ศจ.มนตรี  ตราโมท  จึงได้จัดชุดฟ้อนลาวดวงเดือนขึ้น   โดยนำเพลงลาวดวงเดือน  พระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม  ซึ่งเป็นเพลงสำหรับผู้ชายร้อง  มาแบ่งแยกให้เป็นบทผู้หญิง  และชายร้องโต้ตอบกัน  แล้วขอให้หม่อมแผ้ว  สนิทวงศ์ฯ   เป็นผู้ปรับท่ารำให้เข้ากับคำร้อง  หลังจากแสดงครั้งนั้น (พ.ศ. 2506)  ก็ได้ใช้เป็นชุดฟ้อนอีกชุดหนึ่ง



บทร้องลาวดวงเดือน

                                                    โอ้ละหนอดวงเดือนเอย พี่มาเว้ารักเจ้าสาวคำดวง

                                        โอ้ดึกแล้วหนอพี่ขอลาล่วง อกพี่เป็นห่วงรักเจ้าดวงเดือนเอย

                                        ขอลาแล้วเจ้าแก้วโกสุม พี่นี้รักเจ้าหนอขวัญตาเรียม

                                        จะหาไหนมาเทียมโอ้เจ้าดวงเดือนเอย จะหาไหนมาเทียมโอ้เจ้าดวงเดือนเอย (ซ้ำ)

                                        หอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้ หอมกลิ่นคล้ายคล้ายเจ้าสูของเรียมเอย (ซ้ำ)

                                        หอมกลิ่นกรุ่นครันหอมนั้นยังบ่เลย เนื้อหอมทรามเชยเอยเราละเหนอ

                                        โอ้ละหนอนวลตาเอย พี่นี้รักแสนรักดังดวงใจ

                                        โอ้เป็นกรรมต้องจำจากไป อกพี่อาลัยเจ้าดวงเดือนเอย

                                        เห็นเดือนแรมเริศร้างเวหา เฝ้าแต่เบิ่งดูฟ้า(ละหนอ)เห็นมืดมน

                                        พี่ทนทุกข์ทุกข์ทนโอ้เจ้าดวงเดือนเอย พี่ทนทุกข์ทุกข์ทนโอ้เจ้าดวงเดือนเอย

                                        เสียงไก่ขันขานเสียงหวานเจื้อยแจ้ว หวานสุดแล้วหวานแจ้วเจื้อยเอย (ซ้ำ)

                                        ถึงจะหวานเสนาะหวานเพราะกระไรเลย บ่แม้นทรามเชยเราละเหนอ (ซ้ำ)
ฟ้อนม่านมงคล
ฟ้อนม่านมงคล



พ.ศ. 2495  กรมศิลปากรได้ปรับปรุงละครพันทางเรื่องราชาธิราช  ตอนสมิงพระรามอาสา  นำออกแสดงให้ประชาชนชม  ตอนหนึ่งของเนื้อเรื่องกล่าวถึงพิธีอภิเษกสมิงพระรามกับพระราชธิดาพระเจ้าอังวะ  จึงพิจารณาแทรกระบำขึ้นโดยมอบให้นายมนตรี   ตราโมท  เป็นผู้แต่งบทร้องและทำนองเพลงขึ้น  และตั้งชื่อว่า “ม่านมงคล”

            ฟ้อนม่านมงคล เป็นการฟ้อนที่มีลีลาอ่อนช้อยสวยงาม  ซึ่งสันนิษฐานกันไปต่างๆนานา บางคนสงสัยว่าเป็นของพม่า  เพราะเรียกว่า ฟ้อนม่าน  แต่ฟ้อนม่านมงคลนี้น่าจะเป็นของไทย สังเกตได้จากท่ารำที่อ่อนช้อยงดงาม  มีเพียงท่ารำในตอนต้นเท่านั้นที่ดัดแปลงมาจากของพม่า  หากเป็นการฟ้อนรำของพม่า  จะมีลีลาและจังหวะในการฟ้อนรำที่รวดเร็วและเร่งเร้ากว่าของไทย  น่าจะเป็นไปได้ที่ไทยประดิษฐ์ท่ารำขึ้น  โดยอาศัยท่ารำของภาคเหนือ  และมีท่ารำของภาคกลางปนด้วย  โดยอาศัยเค้าโครงเรื่องราชาธิราช  ซึ่งเป็นตำนานพงศาวดารที่มีมาดังนี้

             เนื้อเรื่องกล่าวถึงพวกมอญ  (พม่า)   แบ่งเป็น 2 พวก  คือ กรุงหงสาวดี  กับกรุงรัตนบุระอังวะ  ซึ่งทั้งสองเมืองจะรบกันอยู่เสมอ  กรุงหงสาวดีมีทหารเอก คือ สมิงพระราม  ซึ่งเก่งในทางรบ  คราวหนึ่งทางฝ่ายกรุงหงสาวดีแพ้  สมิงพระรามถูกจับเป็นเชลยขังไว้  ณ  กรุงอังวะ  เมื่อพระเจ้ากรุงจีนยกทัพมาประชิดอังวะ  ทำให้พระเจ้ากรุงอังวะต้องส่งทหารเอกมาต่อสู้กับกามนี  ทหารเอกของพระเจ้ากรุงจีน  โดยตกลงว่า หากอังวะแพ้จะเอาเป็นเมืองขึ้น   ถ้าอังวะชนะจะยกทัพกลับไป  พระเจ้ากรุงอังวะจึงได้ออกประกาศหาตัวผู้สมัครออกไปต่อสู้กับกามนีทหารเอกเมืองกรุงจีน  ประกาศผ่านที่คุมขังของสมิงพระราม  สมิงพระรามจึงคิดรับอาสาเพื่อต้องการให้ตนเองพ้นจากการคุมขังและเป็นการป้องกันกรุงหงสาวดี  เพราะหงสาวดีอยู่ทางใต้ของกรุงอังวะ  หากพระเจ้ากรุงจีนตีอังวะก็จะต้องยกทัพเลยไปถึงกรุงหงสาวดี  ถึงอย่างไรอังวะก็เป็นเมืองมอญเหมือนกัน

            สมิงพระรามจึงออกต่อสู้กับกามนี  และได้ชัยชนะ  ฆ่ากามนีตาย  ตามสัญญาของพระเจ้ากรุงอังวะจะยกเมืองให้ครึ่งหนึ่ง  และยกพระราชธิดาให้เป็นมเหสี  สมิงพระรามขอสัญญาอีกข้อหนึ่งว่าห้ามไม่ให้เรียกตนว่าคนขี้คุกหรือเชลย  พระเจ้ากรุงอังวะตกลง   จึงจัดการอภิเษกขึ้น  งานนี้จึงมีการฟ้อนม่านมลคลเป็นการสมโภช

          เพลงฟ้อนม่านมงคลนี้  มีผู้นำทำนองเพลงฟ้อนม่านมงคลไปใส่เนื้อร้องเป็ฯแบบเพลงไทยสากล  ได้รับความนิยมแพร่หลายมาก  จนครูมนตรี  ตราโมท   ได้รับรางวัลเสาอากาศทองคำในฐานะผู้แต่งทำนองเพลง



การแต่งกาย

           เป็นแบบพม่า  นุ่งผ้าซิ่นกรอมเท้า  ใส่เสื้อเอวสั้น  ริมเสื้อโครงในมีลวดอ่อนงอนขึ้นจากเอวเล็กน้อย  เสื้อแขนยาวถึงข้อมือ  มีแพรคล้องคอ  ทิ้งชายลงมาถึงเข่า  เกล้าผมทัดดอกไม้  มีอุบะห้อยมาทางด้านซ้าย



โอกาสที่แสดง

            ใช้แสดงในงานสมโภช  งานต้อนรับ  และโอกาสเบ็ดเตล็ดต่างๆ



                                              บทร้องเพลงม่านมงคล
ปวงข้าเจ้าเหล่าราชนาฏกร     ขอฝ่ายฟ้อนระบำบรรพ์ด้วยหรรษา

สมโภชองค์อุปราชราชธิดา               ในมหาพิธีดิถีชัย      

ด้วยเดชะบารมีบดีศูรย์           อันไพบูลย์พูนพิพัฒน์นิรัติศัย

จึงอุบัติอุปราชชาติชาญชัย                อรไทพระธิดาศรีธานี      

ขอคุณพระพุทธเจ้า               จุ่งมาปกเกล้าเกศี

พระธรรมเลิศล้ำธาตรี                     พระสงฆ์ทรงศรีวิสุทธิญาณ      

ขอโปรดประสาท                 อุปราชธิบดี

พระราชบุตรี                                วรนาฏนงคราญ      

ทรงสบสุขศรี                       ฤดีสำราญ

ระรื่นชื่นบาน                                วรกายสกนธ์

พวกเหล่าพาลา                             ไม่กล้าผจญ

ต่างหวั่นพรั่นตน                            เกรงพระบารมี

ประสงค์สิ่งใด                               เสร็จได้ดังฤดี

สถิตเด่นเป็นศรี                             อังวะนครา  

 
ฟ้อนชมเดือน
ฟ้อนชมเดือน      





  ในการฝึกนาฏศิลป์ไทยนั้น  นอกจากจะฝึกท่ารำตามแบบแผน เช่น ฝึกรำเพลงช้า  เพลงเร็ว  รำแม่บท  และฝึกระบำที่เป็นมาตรฐานต่างๆ  ผู้ที่ไม่มีทักษะมักจะรำไม่ค่อยได้  ฉะนั้นครูผู้สอนจึงได้คิดประดิษฐ์ท่ารำอย่างง่ายๆ  เช่น รำโคม รำพัด  และฟ้อน ฯลฯ  โดยดัดแปลงทำนองเพลงที่เรียกว่า  เพลงต่างภาษา  เช่น พม่า  มอญ  จีน  ลาว  แขก  ใช้ทำนองง่ายๆ ประกอบท่ารำที่ไม่ใช่ท่ามาตรฐาน  เพื่อให้ผู้เรียนที่ไม่สามารถรำแบบมาตรฐานได้  จะได้มีโอกาสรำและออกแสดงได้

                    ฟ้อนชมเดือนนี้  ใช้ทำนองลาวลำปาง  เพลงที่มีสำเนียงลาวมักจะใช้รำกับฟ้อน  เนื้อเพลงกล่าวถึงการชมธรรมชาติ  เช่น แสงเดือน  ความงามของผู้หญิง  และการแต่งกาย  ท่ารำได้พยายามเลียนแบบการฟ้อนทางภาคเหนือที่มีลีลาอ่อนช้อยงดงามน่าชม  จึงเรียกการรำชุดนี้ว่า  ฟ้อนชมเดือน

บทเพลงฟ้อนชมเดือน

                                               โอ้เดือนเอยโอ้เดือนดวงงาม              ส่องวาววามแลอร่ามเวหา

                                      โอ้เดือนนี้หนอไป่ยอจันทรา                        ชื่นวิญญาไหนมาเทียมเท่า

                                      โอ้แสงจันทร์เจ้าคลายเศร้าร่มเย็น (ซ้ำ)

                                              สุดสวสยเอยรื่นรวยนารี                    ยามราตรีมีจันทร์วันเพ็ญ

                                      นวลเดือนยั่วเย้าให้สาวเริงเล่น                    ช่างงามจริงหญิงเอยงามเด่น

                                      หากเห็นฤทัยหวนไห้รัญจวน (ซ้ำ)



                   ทำนองเพลงลาวลำปางจบเพียงเท่านี้  แต่ผู้ประดิษฐ์ท่ารำได้เพิ่มท่ารำออกไปอีก  โดยขอให้ท่าครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร  ศิลปบรรเลง)  แต่งทำนองเพลงต่อท้ายเพิ่มขึ้นอีก  เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน   เหมือนดังเช่นเพลงดนตรีที่มีท้ายเพลงสนุกๆ ที่ท่านครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะได้เคยทำมาแล้วในทางดนตรีไทย

                   ผู้แต่งบทร้อง             ดร.คุณหญิงชิ้น   ศิลปบรรเลง

                   ผู้ประดิษฐ์ท่ารำ         อ.ลัดดา   ศิลปบรรเลง

                   การแต่งกาย             แต่งกายแบบฟ้อนของชาวเหนือ  คือนุ่งผ้าซิ่นยาวถึงข้อเท้า  ใส่เสื้อแขนกระบอก  ห่มผ้าสไบ
 ฟ้อนบายศรีเป็นฟ้อนที่สวยงามอย่างหนึ่ง   ซึ่งใช้ในพิธีบายศรีสู่ขวัญหรือเชิญขวัญ  ในการต้อนรับแขกเมืองหรือแขกสำคัญ ทีมาจากต่างเมืองหรือต่างประเทศ
                   ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ  เจ้าใจว่าได้มากจากภาคกลาง  แต่ฟ้อนบายศรีนั้น  ชาวพื้นเมืองคิดท่ารำขึ้นเอง  เพราะถ้าเป็นของลาวจะมีการเล่นเซิ้งรับในพิธีบายศรี  เมื่อมีแขกเมืองหรือแขกเกียรติยศมาจึงจัดต้อนรับขึ้น   มีพิธีบายศรีเชิญขวัญโดยนำใบตองมาเย็บเป็นบายศรีอย่างสวยงาม  ประดับด้วยดอกไม้และเครื่องหอม  มีอาหารจัดทำพิเศษสำหรับเชิญขวัญ  มีด้ายสายสิญจน์สำหรับผู้ข้อมือ  ผู้กระทำคือผู้เฒ่าหรือผู้ทรงคุณวุฒิ  วัยวุฒิ  ที่เข้าใจพิธีทำการเชิญขวัญและผู้ข้อมือแขกเมือง   หลักจากนั้นก็จะมีการฟ้อนบายศรีและมีเลี้ยงกันตามประเพณี
                   ท่ารำต่างๆ  เดิมเป็นของภาคเหนือ  ต่อมาก็ดัดแปลงขึ้นเรื่อยๆ  มีท่าของไทยภาคกลางปนอยู่  แต่ยังอ่อนช้อย และสวยงามตามแบบลีลาของฟ้อนภาคเหนือ

การแต่งกาย
                   นุ่งผ้าซิ่น  เสื้อแขนยาวจรดข้อมือ  มีพวงมาลัยหรือแพรถือทิ้งชายยาวจรดเข่า  เกล้าผมมวยสูง  ทัดดอกไม้ห้อยอุบะข้างซ้ายเหมือนอย่างการแสดงในลักษณะฟ้อนชนิดดังกล่าวมาแล้ว

โอกาสที่แสดง
                   ใช้ในพิธีบายศรีเชิญขวัญในการต้อนรับครั้งสำคัญๆ  ปัจจุบันอาจนำมาดัดแปลงใช้ในงานทั่วๆไปได้

                                              เพลงประกอบ
          มาเถิดเย้อ                             มาเยอขวัญเอย มาเย้อขวัญเอย
หมู่ชาวเมืองมา                                 เบื้องขวานั่งซ่ายล่าย เบื้องซ้ายนั่งเป็นแถว
ยอพาขวัญอันเพริศแพร้ว                     ขวัญมาแล้ว มาสู่ถิ่นฐาน
เกศเจ้าหอมลอยลม                            ทัดเอื้องชวนดม เก็บเอาไว้บูชา
ยามเมื่อฝนเจ้าอย่าคลาย                      ยามแดดสายเจ้าอย่าคลา
อยู่ที่ไหนจุ่งมา                                  รัดด้ายไสยา มาคล้องผ้าแพรกระเจา
          อย่าเพลินเผลอ                       มาเยอขวัญเอย มาเย้อขวัญเอย
อยู่แดนดินใด                                   หรือฟากฟ้าไกล ขอให้มาเฮือนเฮา
เผืออย่าคิดอาศัยชู้เก่า                         ขออย่าเว้า  ขวัญเจ้าจะตรม
หมอกน้ำค้างพร่างพราย                      ขออย่าเชยชม ป่าเขาลำเนาไพร
เชิญมาทัดพวงพยอม                          ทาน้ำหอมให้ชื่นใจ
เหล่าข้าน้อยแต่งไว้                            ร้อยพวงมาลัยมาคล้องให้สวยเอย.
  ฟ้อนดาบนี้แสดงได้ทั้งชายและหญิง  ส่วนมากเป็นการรำในท่าต่างๆ ใช้ดาบตั้งแต่2-4-6-8 เล่ม  และอาจจะใช้ได้ถึง 12 เล่ม   นอกจากการฟ้อนดาบแล้ว  ก็อาจมีการรำหอกหรือ ง้าวอีกด้วย  ท่ารำบางท่าก็ใช้เป็นการต่อสู้กัน  ซึ่งฝ่ายต่างก็มีลีลาการฟ้อนอย่างน่าดูและหวาดเสียวเพราะส่วนมากมักใช้ดาบจริงๆ หรือไม่ก็ใช้ดาบที่ทำด้วยหวายแทน  หากพลาดพลั้งก็เจ็บตัวเหมือนกัน  การฟ้อนดาบนี้มีหลายสิบท่า  และมีเชิงดาบต่างๆ เช่น เชิงดาบเชิงแสน (เป็นของพื้นเมืองของภาคเหนือ)    เชิงดาบแสนหวี (มาจากพวกไทยใหญ่ หรือเงี้ยว)   แต่ละเชิงดาบมีการฟ้อนแตกต่างกัน (ปรากฏว่าเชิงดาบแสนหวีเป็นนักดาบที่เก่งกล้าเผ่าหนึ่งในประวัติศาสตร์)  การฟ้อนดาบมักใช้กลองสะบัดชัยตีประกอบจังหวะ ผู้แสดงสวมชุดพื้นบ้านภาคเหนือ (นุ่งกางเกงครึ่งแข้ง สวมเสื้อม่อฮ่อม มีผ้าขาวม้าคาดเอว)
ฟ้อนดาบ



ฟ้อนดาบ
การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน





        ดินแดนภาคอีสานของไทยหรือที่เรียกกันว่า “ที่ราบสูง” จัดเป็นอู่อารยธรรมมาตั้งแต่โบราณกาล หลักฐานที่ได้พบในดินแดนภาคอีสานหลายอย่างแสดงว่าเป็นต้นกำเนิดทั้งแบบอย่างศิลปะและการใช้เทคโนโลยีรุ่นเก่าแก่ที่สุดเกท่าที่พบมาทุกแห่งในประเทศไทย จึงนับได้ว่าเป็นดินแดนแห่งพื้นฐานอารยธรรมที่แผ่ขยายและคลี่คลายเปลียนแปลงออกไปตามสภาพสิ่งแวดล้อม และในที่สุดดินแดนภาคอีสานก็มีเอกลักษณ์ที่แสดงความเป็นตัวของตัวเองอย่างเด่นชัดเช่นเดียวกับภาคอื่นๆ


ลักษณะทั่วไปทางสังคม
        สภาพแห่งการดำเนินชีวิตทั่วไปของชาวไทยในภาคอีสาน ขึ้นอยู่กับความเชื่อและระเบียบแบบแผนขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านไปนานแล้วก็ตาม เนื่องจากมาตรการที่ช่วยควบคุมการประพฤติปฏิบัติของประชาชนยังได้รับการยึดถืออยู่อย่างเคร่งครัด และรู้สึกว่าจะมีความมั่นคงมากกว่าทุกภาคด้วยซ้ำ เช่น การมีจารีต ดังที่เรียกกันว่า “ฮีตสิบสอง คองสิบสี่” เป็นเชิงบังคับให้ประชาชนเคร่งครัดในกรอบประเพณีที่ถือปฏิบัติเป็นเรื่องๆ คราวๆ งานฮีตจึงเป็นการทำงานร่วมกันทั้งแรงกายและแรงใจเพื่อสังคมส่วนรวม โดยมุ่งไปทางบุญทางกุศลเสียเป็นส่วนใหญ่

        มาตรการอย่างหนึ่งที่เรียกว่า “ขะลำ” ซึ่งปัจจุบันออกจะไม่ค่อยเคยชินกันนั้น มีผลที่ให้ประชาชนยึดถือเป็นคติเตือนใจให้สำรวมในการกระทำทุกกรณี ซึ่งมีอยู่หลายร้อยพันอย่างและแยกออกเป็นเรื่องๆ ด้วย เพื่อเหมาะแก่การศึกษาเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะ เช่น การถือศีลในวันพระ การยกย่องสามีของสตรีที่แต่งงานแล้ว วันสำคัญต่าง ๆ ทางศาสนามีการหยุดการละเว้นงานบางอย่าง ขะลำที่ว่าด้วยประเพณีชายหนุ่มหญิงสาว ซึ่งยอมให้พบปะพูดคุยกันได้แต่ห้ามถูกเนื้อต้องตัวกัน ชายหนุ่มนั้นห้ามมิให้ล่วงล้ำย่างกรายไปบนเรือนโดยไม่มีผู้คน หญิงสาวไปไหนมาไหนคนเดียวกลางคืน หรือไปกับชายหนุ่มสองต่อสองแม้กลางวัน ก็เป็นสิ่งต้องห้ามด้วย จึงจดจำกันไว้สอนลูกหลานตลอดมา ตัวอย่างขะลำมีดังนี้

        - กินข้าวก่อนผัวเป็นวัวเข้าตู้ นอนก่อนผัว - ขะลำ

        - นั่งขวางบันได ขวางประตู - ขะลำ

        - ข้ามขั้นบันไดขึ้นเฮือน ตีนเช็ดหัวขั้นได - ขะลำ

        - ย่างเสียงดัง กินข้าวเสียงดัง ฟันไม้ตอกไม้กลางคืน - ขะลำ

        - ฝนตกผ้าฮ้อง ไถนา ขี่ควายเล่น ยกมีดยกเสียม ฟันไม้ - ขะลำ

ฯลฯ

        ลักษณะของหมู่บ้านซึ่งมีผู้คนอาศัยจนเป็นแหล่งชุมชน ก็อาศัยที่ราบริมน้ำหรือริมหนองริมบึง ถ้าส่วนใดมีน้ำท่วมอยู่เสมอและน้ำเจิ่งนองอยู่บ้าน ก็จะขยับขยายอยู่บนโคกบนดอย ส่วนที่อยู่ห่างออกไปจากที่ลุ่มน้ำแถบแม่น้ำลำคูคลองหนองบึง ก็จะแสวงหาที่ซึ่งมีต้นไม้ชนิดเนื้ออ่อนด้วยทราบดีว่าภายใต้แผ่นดินส่วนนั้นจะมีน้ำ การอยู่รวมกันใกล้ชิดกันมาก ๆ จนดูรวมกันเป็นกระจุกนี้มีผลให้เกิดความสามัคคี ช่วยเหลือเผื่อแผ่กัน ทำสิ่งใดก็ทำด้วยกัน การออกเรือน หรือ “ออกเฮือน” ของหนุ่มสาวที่ปลงใจแต่งงานกันนั้น ก็มักจะอยู่กับพ่อตาแม่ยายสักพักหนึ่ง แล้วจึงค่อยขยับขยายไปอยู่ที่ทางของตน ซึ่งอาจได้รับแบ่งที่ดินจากผู้ใหญ่ก็ได้ มาในปัจจุบันปัญหาเรื่องที่ดินออกจะทำความลำบากให้มากขึ้น จึงมักเปลี่ยนจากออกเรือนไกลๆ เป็นปลูกเรือนอยู่ใกล้บ้านพ่อแม่ แล้วใช้เวลาว่างจากการทำนาไปรับจ้างยังจังหวัดอื่น ๆ ซึ่งก็สร้างปัญหาอยู่มีน้อยเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ชาวไทยในภาคอีสานก็ยังอุดมไปด้วยมรดกสมบัติทางวัฒนธรรมด้านต่าง ๆอีกมาก โดยเฉพาะทางด้านการแสดงพื้นบ้าน ที่เป็นเหมือนสื่อแสดงให้เห็นความรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์

        การละเล่นที่สนุกสนานเพื่อผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยจากการงานของชาวไทยภาคอีสานนั้น มีอยู่หลายอย่างหลายประเภท แต่ที่ออกจะเป็นที่นิยมกันมากกว่าอย่างอื่น คือ “หมอลำ” การแสดงหมอลำแต่ละครั้งมีคนดูกันแน่นถึงรุ่งสว่าง เอมีหมอลำก็ต้องมีหมอแคนด้วยเป็นของคู่กัน ดนตรีพื้นเมืองชิ้นนี้กลายเป็นสิ่งมีค่าควรแก่การอนุรักษ์อย่างยิ่ง ยิ่งการรำเซิ้งแบบต่าง ๆ ด้วยแล้ว นับว่าเป็นการแสดงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะไม่ซ้ำแบบใคร นอกจากนั้นยังมีการฟ้อนอีกด้วย เทศกาลนักขัตฤกษ์ใด ๆ ก็มักจะคลาคล่ำไปด้วยหมอลำ หมอแคน เซิ้ง ฟ้อน และการแสดงอื่นๆ สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นสภาพทางสังคมของชาวไทยภาคอีสานว่า มีความสนุกสนานร่าเริงและไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าชาวไทยภาคอื่นในเรื่องของการรักถิ่นกำเนิด

การแสดงหมอลำ ของชาวอีสาน


        ตามปกติของการดำเนินชีวิตแม้ว่าจะต้องตรากตรำทำงานต่าง ๆ แต่ก็จดจำกันได้ดีถึงวันสำคัญของเดือนแทบจะกล่าวได้ว่าถามใครก็ได้คำตอบอย่างถูกต้องทุกคน เพราะชาวอีสานมักจะสอนลูกหลานให้จดจำเอาไว้เป็นทอด ๆ เช่น เมื่อถึงเดือนสิบถามใคร ๆ ก็ต้องตอบได้ว่า วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นวันโดนตา คือ วันที่เขาจะร่วมกันทำบุญอุทิศให้บรรพบุรุษกันทุกครัวเรือน ตอนเช้าขึ้น ๑๕ ค่ำ จึงไปถวายอาหารพระสงฆ์ตามวัดต่างๆ งานบุญข้าวจี่ ทำกันในเดือน ๓ คือ วันขึ้น ๑๔ ค่ำ ก็จะลุกขึ้นเพื่อปิ้งข้าวจี่ กันตั้งแต่ตี ๔ หรือ ตี ๕ ข้าวจี่คือข้าวเหนียวปั้นแล้วปิ้งไฟจนเหลืองแล้วชุบไข่ โดยเสียบไม้ปิ้งไฟถ่าน ซึ่งสุกแดงไม่มีเปลวไฟ งานเหล่านี้แม้ว่าจะไม่มีการแสดงอะไรประกอบ แต่ก็ไม่วายสนุกสนานกันด้วยเสียงเพลงบ้าง เสียงหัวเราะจากการหยอกเอินกันบ้าง

        การสู่ขวัญซึ่งนิยมกระทำกันอย่างจริงจังก็เป็นเรื่องของความจริงใจที่แสดงออกให้เห็นอยู่บ่อยๆ แม้ว่าพิธีสู่ขวัญนี้จะสืบเนื่องมาจากพิธีของพราหมณ์ก็ตาม แต่ก็ได้รับการเคารพนับถืออย่างยิ่ง ทำให้เกิดการแต่งคำสู่ขวัญหลายแบบหลายประเภท มีทั้งสู่ขวัญเด็ก สู่ขวัญเณร สู่ขวัญบ่าวสาวกินดอง เป็นต้น
การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง





        การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง ส่วนมากจะได้รับการพัฒนาขึ้นจากพื้นเพเดิมจนมีแบบอย่างที่ซับซ้อน และยากขึ้นกว่าเดิม กลายเป็นแบบบทของนาฏดุริยางค์สังคีตประจำชาติ แต่กระนั้นการแสดงแบบดั้งเดิมพื้นบ้านก็ยังมีอยู่ไม่น้อย เป็นการแสดงที่เรียบง่าย ไม่มีพิธีการมากนัก อาจจะมีการไหว้ครูตามแบบขนบประเพณีทั่วไปบ้าง

        การแสดงพื้นบ้านของภาคกลาง คงจะต้องเปิดฉากกันที่ท้องถิ่นชนบท โดยเฉพาะแถบจังหวัดภาคกลาง มีชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สุพรรณบุรี กรุงเทพฯ นครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรี ตลอดจนกาญจนบุรีเป็นต้น เนื่องจากท้องถิ่นเหล่านี้มีที่ราบมาก การทำไร่ทำนาจึงเป็นของคู่กับการดำเนินชีวิตตลอดมา ผลผลิตทางเกษตรกรรมจึงได้จากข้าวมากกว่าภาคอื่นๆ นอกจากนั้นก็มีผลไม้อีกหลายอย่างที่ออกจะขึ้นชื่อกว่าทุกภาค แต่ก็ยังมีสิ่งที่ด้วยหรือไม่มีอย่างที่ภาคอื่นๆ มีอีกหลายอย่างเหมือนกัน


ลักษณะทั่วไปของสังคม

        ลักษณะของภูมิประเทศในภาคกลาง ได้กล่าวแล้วว่าส่วนมากจะเป็นทีราบ ซึ่งเหมาะกับการเกษตรกรรมอีกประการหนึ่งคือมีแม่น้ำดุจเส้นโลหิตสำคัญไหลผ่านหลายสาย ด้วยเป็นแหล่งซึ่งอยู่ใกล้ปากอ่าวอันเป็นที่แม่น้ำหลายสายไหลลงสู่ทะเล นอกจากนั้น ก็ยังถือว่าภาคกลางมีกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจการปกครองมาตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หัวเมืองอื่นๆ ที่อยู่นอกออกไปก็มีข้าราชบริพารออกไปกำกับดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ มาในปัจจุบันก็ยังมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งออกไปประจำการควบคุม ดูแลทุกข์สุขของประชาชน ย้อนขึ้นไปในสมัยโบราณตั้งแต่ระยะต้นของสมัยอยุธยาก็ปรากฏว่ากรุงศรีอยุธยา เป็นศูนย์กลางแห่งการค้าขาย การปกครอง การศาสนา และอื่น ๆอีกมากมาย สงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับกรุงหงสาวดี แม้ว่าจะยืดเยื้อหลายครั้งหลายครา และกระทบไปทั่วผืนแผ่นดินไทย แต่ก็กลางก็รับศึกหนักกว่าทุกภาคเพราะว่าข้าศึกส่วนมากจะมุ่งเข้าตีเมืองหลวง คือกรุงศรีอยุธยา ดังนั้น ชาวไทยภาคกลางจึงออกจะกรำศึกสงครามจนกลายเป็นความรู้สึกหรือจิตใต้สำนึกอยู่ตลอดเวลาว่าจะต้องเตรียมพร้อมในการอพยพหนีเข้าป่าเข้ารก สมัยโบราณนั้นถ้าเด็กๆ ร้องไห้กันงอแงผู้ใหญ่จะขู่ว่า “ร้องไปเถอะ เดี๋ยวพม่ามาละก็โดนจับตัวแน่...” เด็กสมัยโบราณก็เงียบทันที เพราะเป็นไม้เบื่อไม่เมากันมานาน หัวเมืองที่ออกจะมีชื่อเสียงในการรบทัพจับศึกแบบชาวบ้านๆ ก็ได้แก่ กลุ่มชาวบ้านบางระจัน เป็นต้น ตั้งค่ายสู้รบจนตายกันทั้งค่ายก็เพราะจะรักษาอธิปไตยของชาติ

        ภาคกลางมักเป็นที่ปรารถนาของคนในชนบท ที่จะได้เข้ามาเยี่ยมชมหรือเข้ามาสัมผัสไม่ว่าจะด้านใด เช่น พระสงฆ์ที่สนใจเล่าเรียนพระธรรมวินัยใคร่สอบเอาเปรียญ ก็มักเข้ามาศึกษาในกรุงเทพฯ จนมีคำพูดกันว่า “คนในเมืองหลวงใกล้ปืนเที่ยง” คือจะมีการยิงปืนกันในตอนเที่ยงตรง หากไกลออกไปจนถึงชนบทก็ไม่มีโอกาสได้ยินเสียงปืนจนพูดกันว่า “ข้ามันอยู่ไกลปืนเที่ยง” การจัดชั้นของผู้คนก็มีมากกว่าในชนบท เพราะว่าใกล้ชิดกับขุนนางข้าราชการหรือผู้มีบรรดาศักดิ์ตลอดจนราชสำนัก จนมีคำพูดว่า “ชาววัง” ซึ่งก็ได้แก่ผู้คนหรือสตรีที่ได้มีโอกาสเข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวัง เป็นข้าหลวง เป็นเจ้าพนักงานฝ่ายใน ซึ่งจะได้รับการฝึกทั้งการเขียนการอ่าน กิริยามารยาท การฝีมือต่าง ๆ เป็นอย่างดี สามารถยกระดับตัวเองให้สูงขึ้นได้ โดยเป็นที่ปรารถนาของชนชั้นสูงจะได้ไว้เป็นแม่ศรีเรือน


กิริยา การแต่งกายของสาวชาววัง

        คนในภาคกลางนอกเมืองหลวงออกไปก็ดูจะคล้ายๆ กับชนบทท้องถิ่นอื่นๆ แต่แนวโน้มเรื่องความนิยมชมชื่นอาจจะแตกต่างกันไปบ้าง สิ่งที่นิยมกันในเมืองหลวงมักแพร่ขยายออกมาสู่ชนบทภาคกลางมากกว่าภาคอื่นๆเพราะอยู่ในระยะที่จะติดต่อคมนาคมถึงกันได้ง่าย การรวมกลุ่มผู้คนเพื่อร่วมทำการอย่างใดอย่างหนึ่งของคนไทยภาคกลางก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการคิดประดิษฐ์การละเล่นที่สนุกสนาน เช่น การเล่นเพลงพื้นเมืองต่าง ๆ ตลอดจนการรำวงที่นิยมแพร่หลายออกไปทั่วประเทศ ก็มีที่มาจากภาคกลางเป็นส่วนมาก เพราะเมื่อรวมกลุ่มกันแล้ว ย่อมจะมีการพูดจาสังสรรค์หยอกล้อกัน ดังนั้น การละเล่นแบบโต้คารมเป็นคำกลอนที่คล้องจองกัน พร้อมกับการขยับแขนขา ขยับมือกรีดกรายร่ายรำก็เกิดขึ้นด้วย

        ออกไปจากเมืองหลวง คือ กรุงเทพฯ ก็จะเป็นชนบทชานเมืองจนถึงเขตจังหวัดในภาคกลาง ซึ่งประกอบด้วยแม่น้ำลำคลองหลายสาย ทุ่งนาเขียวขจีสมกับเป็นภาคพื้นที่อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่ง ความเป็นอยู่ของคนในชนบทเป็นไปอย่างพื้นเพเดิมอยู่เป็นอันมาก การเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ก็มีอยู่ทั่วไปในรูปของต่างคนต่างทำ ผลผลิตที่แต่ละครอบครัวได้รับจึงไม่มากพอที่จะสร้างฐานะความเป็นอยู่ให้เปลี่ยนแปลงดีขึ้นกว่าเดิม อาจจะขยายกิจการกว้างขวางขึ้นที่ดินมากขึ้น แต่ผลผลิตที่มากขึ้นก็กลายเป็นการกดราคาตัวเองไม่ให้สูงตามไปด้วย เพราะปริมาณเกินความต้องการอยู่ แต่สิ่งเหล่านี้ก็หาได้ทำลายเอกลักษณ์ของท้องถิ่นไปเสียหมดทุกอย่าง เพราะเหตุการณ์ต่างๆ จะผันแปรไปเองตามกาลเวลา คนไทยภาคกลางจึงมีจิตใจที่มั่นคงในความเปลี่ยนแปลงไปด้วย และทุกคนก็จะพูดว่า “ยังไงๆ ก็ไม่ถึงกับอดตาย”

        ในสมัยก่อนคนไทยในภาคกลางจะมีอยู่เฉพาะในภาคกลางเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีคนภาคอื่นๆเข้ามาแทรกตัวอยู่ร่วมสังคม จนกระทั่งกรุงเทพฯในปัจจุบันนี้ หาคนไทยภาคกลางแท้ๆ ได้ยาก เพราะเท่าที่มีอยู่เดิมก็โยกย้ายกันออกไปอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ เสียมากแล้ว เหลือคนภาคกลางแท้ๆ ในกรุงเทพฯจำนวนไม่มากนัก ดังนั้น เอกลักษณ์ของคนภาคกลางในกรุงเทพฯ จึงกลายเป็นงานธุรกิจชนิดทุกลมหายเข้าออกก็ว่าได้

        คนไทยภาคกลางในชนบทรอบนอกๆ ออกไปจากกรุงเทพฯ ก็รับกระแสงานธุรกิจจากกรุงเทพฯ ไปบ้างมากน้อยตามแต่ความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง จึงทำให้การแสดงพื้นบ้านไม่ค่อยมีการสืบทอดกันมากนัก โดยสมัยก่อนเป็นรุ่นพ่อกับรุ่นลูก แต่ปัจจุบันกลายเป็นรุ่นปู่กับรุ่นหลาน ซึ่งจะค่อยๆ ห่างไกลกันออกไปตามกาลเวลา ภาคกลางจึงเป็นภาคที่น่าเป็นห่วงในเรื่องนี้อยู่มากกว่าภาคอื่นๆ อีกประการหนึ่งก็คือ แสงสีแห่งอารยธรรมยุคใหม่ของภาคกลาง ยั่วเย้าท้าทายให้คนไทยคลั่งไคล้ได้มากกว่าการแสดงพื้นบ้านอันบริสุทธิ์ซึ่งมีที่มาแต่ดั้งเดิม จึงเป็นที่หวั่นวิตกไปว่า ความดีวามของการแสดงพื้นเมืองของไทยจะสูญหายจากความทรงจำไป ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับค่านิยมในสังคมนั่นเอง
การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ





        อาณาบริเวณทางภาคเหนือของไทย ที่เรียกกันว่า “ล้านนา” นั้น ประกอบด้วยจังหวัดต่างๆ 8 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน เคยมีประวัติอันซับซ้อนและยาวนานเทียบได้กับสมัยสุโขทัย เคยมีกษัตริย์ปกครองสืบทอดต่อกันมาจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯให้พระยากาวิละ ซึ่งเป็นผู้ครองเมืองลำปางขึ้นไปปกครองเชียงใหม่ อันถือว่าเป็นศูนย์กลางทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม การแสดงพื้นเมืองของภาคเหนือมีความเด่นอยู่ในรูปแบบที่เป็นตัวของตัวอย่างอย่างสมบูรณ์ แม้ว่าเคยตกอยู่ในอำนาจของรัฐอื่นๆ มาบางระยะบ้าง ก็มิได้ทำให้รูปแบบของการแสดงต่าง ๆ เหล่านั้นเสื่อมคลายลง ส่วนที่ได้รับอิทธิพลก็มีอยู่บ้าง แต่ก็ได้รับการประยุกต์ให้เข้ากับรูปแบบของล้านนาดั้งเดิมอย่างน่าชมเชยมาก แสดงว่าสามารถรักษาเอกลักษณ์ไว้ได้อย่างสมบูรณ์


ลักษณะทั่วไปทางสังคม

        ชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในภาคเหนือ ยึดมั่นอยู่ในขนบธรรมเนียมประเพณีเช่นเดียวกับชาวภาคอื่น ๆ แต่ภาษาถิ่นและส่วนลึกๆ ของขนบธรรมเนียมประเพณีบางอย่างก็แตกต่างกันไปตามลักษณะของภูมิภาค เช่น ในงานฉลองสมโภชที่เรียกกันว่า “ปอย” ก็ยังมีชื่อเฉพาะเป็นงานๆ ไป มีปอยน้อย ซึ่งหมายถึงงานเฉพาะครอบครัววงศาคณาญาติ หรือภายในครอบครัวที่เกี่ยวข้องกัน และปอยหลวง ซึ่งหมายถึงงานใหญ่ที่มีการสมโภช หรืองานฉลองใหญ่ๆ ที่ทำร่วมกันทั้งหมู่บ้าน อาจเป็นงานมหกรรมติดต่อกันหลายวัน เป็นต้น

        ส่วนพิธีกรรมและประเพณีต่างๆ ก็ถือกันมาช้านาน มีประเพณีเรียกขวัญ ประเพณีสืบชะตา ประเพณีส่งเคราะห์ ประเพณีทานตุง ประเพณีใส่บาตรเพ็งพุธ ฯลฯ เป็นต้น พิธีกรรม ที่จัดเฉพาะแต่ละประเพณีเพื่อสนองตอบความมุ่งหมายนั้นๆ เช่น ประเพณีสืบชะตา ก็จะจัดสิ่งของเฉพาะ มีการบอกข้าว กระบอกทราย กระบอกน้ำ สะพาน ลวดเงิน ลวดทอง ไม้ง่าม ทำกระโจมสามขาให้ผู้เข้าพิธีนั่งอยู่ตรงกลางส่วนของกระโจม โยงสายสิญจน์ติดขากระโจมเข้ากับขันน้ำมนต์ที่ตั้งอยู่หน้าพระพุทธรูป มีกระสงฆ์สวดพระปริตร แล้วเอาด้ายสายสิญจน์ผู้ข้อมือ สิ่งของต่างๆ ที่เข้าพิธีนำเอาไปที่วัด แสดงให้เห็นว่าประเพณีบางอย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นแม้จะมีอยู่บ้างแต่ก็แตกต่างกันในส่วนประกอบอื่นๆ อีกแบบหนึ่ง

        การยึดมั่นในศาสนาจะเห็นได้ว่ามีความมั่นคงและเกาะเกี่ยวกับชีวิตประจำวันอย่างยิ่ง นอกจากจะเป็นไปตามประเพณีทางพระพุทธศาสนาแล้ว ยังแฝงความเชื่อถือในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไว้ด้วย เช่น ประเพณีเกี่ยวกับการทำไรทำนา มีการเลี้ยงขุนน้ำ คำว่า “ผี” ก็คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีเทวดาเป็นต้นนั่นเอง ส่วนคำว่า “ขุน” คือการควบคุมน้ำให้ไหลตามปกติ ไม่มาก ไม่น้อย จึงต้องจัดเครื่องพลีกรรมอันประกอบด้วย หัวหมู เหล้า ข้าวเหนียวนึ่ง หมาก เมี่ยง บุหรี่ ดอกไม้ ธูป เทียน แล้วมีหัวหน้าทำหน้าที่พิธีกร กล่าวมอบสิ่งของให้แก่ผีซึ่งเปรียบดุจเทพารักษ์ดูแลควบคุมน้ำ แล้วจึงเอาเครื่องพลีกรรมมาประกอบอาหารเลี้ยงดูกันต่อไป ซึ่งเรียกตามภาษาถิ่นว่า “กินข้าวซากผี” ถือกันว่าเป็นมงคลอย่างยิ่ง



ประเพณียี่เป็ง ของชาวเหนือ

        อย่างไรก็ตาม นาฏดุริยางคสังคีตย่อมเกี่ยวเนื่องผูกพันอยู่กับสังคม ดังนั้น เมื่อมีการปฏิบัติทางสังคมเกิดขึ้น ก็จะมีการสมโภชฉลองด้วยการประโคมดนตรีแบบต่างๆ และร่ายรำตามจังหวะทำนองของเพลงนั้น ๆ และถ้าในสังคมนั้นมีชนชั้นสูงระดับเจ้าเมือง พระราชา หรือกษัตริย์ ก็ยิ่งจะต้องมีกิจพิธีที่จะต้องปฏิบัติมากขึ้นเป็นพิเศษ สำหรับสังคมไทยภาคเหนือหรือล้านนาไทยนั้น จารีตประเพณีและวัฒนธรรมก่อให้เกิดศิลปะแขนงต่างๆ ซึ่งล้วนแต่เอื้อต่อพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นดนตรี การเล่น ฟ้อนรำ เช่น การแห่แหนที่มีดนตรีประกอบ ฟ้อนต่างๆ กล่องปุ่มผึ้ง กล้องเต่งถิ้ง เครื่องประโคมตามแบบรามัญสมัยโบราณ ที่ใช้เป็นเครื่องแห่อยู่ในปัจจุบันยังมีกลองแอวหรือกลางติ่งโนงใช้ประโคม หรือเข้าขบวนแห่ในงานฉลอง ตลอดจนดนตรีต่าง ๆที่ใช้ประกอบการฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน เป็นการฟ้อนเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา จะเห็นได้จากขนบประเพณีต่างๆ ตลอดระยะเวลา ๑๒ เดือน เช่น การขับซอที่มีคำว่า “นายเฮยเดือนแปด มาบ่ายเดือนห้า อ้ายจะน้อยเหน้า แป๋งแอกแป๋งไถ...” หรือเพลงปั่นฝ้ายแถบเมืองน่านเมืองแพร่ที่ว่า “ปั่นฝ้าย หื้อมันเป็นใย จะทอผ้าใบ หื้อป้อละอ่อน... ปั่นฝ้ายหื้อมันดีดี เอาเตอะสาวจี่ ปั่นฝ้ายเหี่ยใหม่...” ศิลปะการร้องรำทำเพลงจึงช่วยให้ทราบถึงพฤติกรรมในสังคมที่ปฏิบัติจนเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีสืบมา


เวียงพุกาม  นครต้นแบบแห่งนครเชียงใหม่ และอาณาจักรล้านนา

        ประเพณีที่เป็นชาวบ้านและชาววัง (คุ้มหลวง) หากมีลูกหลานเป็นผู้หญิง ก็มักจะให้ฝึกหัดฟ้อน เพื่อรวมกันเป็นหมู่เหล่าฟ้อนในงานบุญต่างๆ ชาวบ้านที่มักทำบุญวัดแห่งใด ก็เรียกกว่า เป็น ศรัทธา ของวัดนั้น ๆ ลูกหลานเป็นผู้หญิงก็พลอยเป็น “ช่างฟ้อน” ของวัดนั้นๆ ไปด้วย แต่ละวัดจึงมีช่างฟ้อนสำหรับฟ้อนเป็นพุทธบูชาสืบทอดต่อกันมาช้านาน ยิ่งชาววังซึ่งอยู่คุ้มหลวง ก็ยิ่งมีการฝึกหัดกันมากเพราะจะเป็นแม่แบบให้ช่างฟ้อนอันได้ยึดถือเป็นแบบฉบับต่อไป สมัยเมื่อเจ้าดารารัศมียังมีพระชนม์ชีพอยู่ ได้ทรงสนพระทัยเรื่องการฟ้อนอย่างมาก การฟ้อนที่ยิ่งใหญ่หลังสุดมีขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นไปเลียบมณฑลพายัพ เจ้าดารารัศมีทรงจัดถวายการต้อนรับอย่างใหญ่โตที่สุด การฟ้อนหลายแบบก็เกิดขึ้นในคราวนั้นด้วย

        ประเพณีอีกหลายๆ อย่างที่มีขึ้นเนื่องมาจากการดำรงชีวิตประจำวัน ซึ่งมีทั้งยามมีงานและยามว่าง การต้อนรับแขก สิ่งต่างๆ เหล่านี้นอกจากจะแสดงให้เห็นความเป็นเอกลักษณ์ทางศิลปะนาฏศิลป์และดนตรีแล้ว ยังแสดงถึงน้ำใจอันกว้างขวางและอัธยาศัยอันดีงามตามแบบฉบับของไทยภาคเหนืออีกด้วย
การแสดงพื้นเมืองภาคใต้






        ภาคใต้ของไทยติดต่อกับมาเลเซีย ซึ่งแต่ก่อนเรียกกันว่า มลายู ชนพื้นเมืองนั้นนับถือศาสนาอิสลาม ประกอบกับชาวไทยภาคใต้มีความใกล้ชิดกับประเทศใกล้เคียงมาก จึงมีสำเนียงในการพูดแตกต่างออกไปจากภาคอื่นๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะให้ความเป็นคนไทยลดลง กลับจะทำให้เกิดความสำนึกในความเป็นไทยมากขึ้น ในเมื่อต้องอยู่ร่วมกันกับสังคมของคนไทยที่นับถือศาสนาอื่น ซึ่งก็มิได้เกิดปัญหาแต่อย่างใด ต่างก็อยู่อย่างสันติสุขมาตลอด การถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมซึ่งกันและกันเป็นไปอย่างเหมาะสมกลมกลืนกันอย่างยิ่ง

        ศิลปะแห่งการฟ้อนรำ ดนตรี และการเล่นการแสดงต่าง ๆของภาคใต้ ก็จัดว่ามีเอกลักษณ์เด่นชัดเฉพาะของตัวเอง ความอ่อนช้อย กระฉับกระเฉง และแม่นยำ มั่นใจในการแสดงออกซึ่งศิลปะทางด้านนี้ ทำให้สะท้อนภาพของการดำเนินชีวิตซึ่งต้องต่อสู้ทั้งภัยธรรมชาติและอื่น ๆ ทำให้เกิดความแข็งแกร่งในชีวิตจนดูออกจะแข็งกร้าวแต่ไม่ดุร้าย ความอ่อนโยนทั่วไปจะซ่อนเร้นอยู่กับท่วงทีซึ่งจริงจัง ขึงขังและเฉียบขาด จากการขับร้องตามสำเนียงท้องถิ่น ทำให้ทราบได้ว่าเน้นในเรื่องของจังหวะแม้ว่าจะต้องใช้การเอื้อนตามทำนองที่มีทั้งยาวและสั้น ก็ตามปฏิญาณในการเล่นเพลงบอก ซึ่งเป็นเพลงประเภทดำเนินคำกลอนทำให้ซาบซึ้งถึงคุณธรรมและแนวจริยธรรมของคนในท้องถิ่นอย่างสมบูรณ์


ลักษณะทั่วไปทางสังคม

        แผ่นดินอันเป็นส่วนภูมิภาคทางใต้ของประเทศไทย มีสภาพทางภูมิศาสตร์ตั้งอยู่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรทำให้ต้องประสบกับอากาศที่ร้อน มีลมแรง เพราะเป็นมรสุมแห่งคาบสมุทร นอกจากนั้นก็ยังมีความผันผวนของอากาศอยู่เสมอสายฝนที่ตกลงมาอย่างไม่รู้ตัวท่ามกลางแสงแดดที่แจ่มจ้าร้อนระอุ มีอยู่เป็นประจำ แม้จะมีฝนตกติดต่อกัน ๓ วัน ๓ คืนก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะสามารถพบเห็นได้อยู่บ่อยๆ สภาพทางเศรษฐกิจของภาคใต้คงจะทราบกันดีว่า ได้แก่เหมืองแร่และยางพาราซึ่งเป็นผลิตผลประจำท้องถิ่น รายได้ของชาวไทยภาคใต้แม้ว่าจะดีกว่าในภาคอื่นๆ แต่ค่าครองชีพก็ยังสูง จึงทำให้ชาวภาคใต้แข็งแกร่ง อดทน บึกบึน และเฉียบขาด

        ชนชาวไทยในภาคใต้สมัยก่อนๆ มีประวัติยาวนาน หลักฐานทางด้านโบราณคดีหลายแห่งก็ระบุถึงอาณาจักรอันรุ่งเรืองทั้งเป็นแหล่งชุมชนที่หนาแน่น ในปัจจุบันประกอบด้วยจังหวัดต่างๆ คือ ชุมพร ระนอง สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต ตรัง พัทลุง สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวม ๑๔ จังหวัด สภาพของสังคมทั่วไปนั้นเกี่ยวข้องไปถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ และศาสนาด้วย อารยธรรมที่ได้จากพื้นฐานของพระพุทธศาสนา ทำให้บังเกิดศิลปกรรมขึ้นหลายๆ รูปแบบ อันเนื่องมาจากการรับวัฒนธรรมทั้งด้านวัตถุและจิตใจของกันและกันระหว่างท้องถิ่น จึงมีลักษณะของ การประสมประสานทางวัฒนธรรม อันจะเห็นได้จากความเชื่อถือในรูปของศาสนา ประเพณีนิยมแม้ว่าจะเพิ่งมีการแสดงออก เช่น การทรงเจ้าหรือการแห่เจ้าอันเป็นความนิยมของชาวจีน แต่ไม่ได้ขับกับความเชื่ออย่างไทยๆ อาจจะเป็นเพราะได้รับการสั่งสมบ่มศรัทธากันมานาน

        การรับพระพุทธศาสนาจากอินเดีย ก็ได้รับโดยตรงไม่ได้ผ่านมาทางใด ดังนั้น บางสิ่งบางอย่างจึงกลับย้อนไปยังภาคกลาง ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกว่า พ่อขุนรามคำแหงโปรดให้นิมนต์ปู่ครูนครศรีธรรมราชขึ้นไปบอกธรรมแก่ชาวเมืองสุโขทัย นอกจากนั้น ประเพณีบางอย่างก็ยังเป็นที่นิยมและได้รับความเคารพนับถืออย่างเคร่งครัด เช่น งานเดือนสิบ มีการทำขนมลา กวนข้าวทิพย์และมหรสพสมโภชต่าง ๆ บางท้องถิ่นมีการชักพระ แห่พระกันทางบกบ้าง ทางน้ำบ้าง พร้อมกันนั้นก็เป็นความสนุกสนานเพลิดเพลินของชาวบ้านไปด้วย จากการที่ต้องเหน็ดเหนื่อยตรากตรำทำงานกันมา กลางวันอาจจะมีการเล่นโนรา เพลงนา ลิเกป่า หรือตกกลางคืนอาจจะมีหนังตะลุง ตลอดจนสิ่งอื่นๆ ด้วย การเล่นพื้นเมืองเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นค่านิยมและสภาพทั่วไปทางสังคมของชาวใต้ได้ดี เช่น ความศรัทธาต่อพระศาสนาและความเชื่อเรื่องทำบุญด้วยความจริงใจ เบิกบานใจ และแม้ว่าจะมีงานบุญ งานกุศลก็ยังประกอบด้วยการเล่นพื้นเมืองของท้องถิ่น เพราะถือว่าการเล่นเหล่านั้นเป็นพุทธบูชา เช่น มีเทศน์มหาชาติทรงเครื่อง เล่นโนราบทชมพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช เพลงเรือสำหรับประเพณีชักพระ  เพลงแห่นาคในงานอุปสมบท ฯลฯ





คณะโนราในอดีต

        เนื่องจากสังคมท้องถิ่นภาคใต้มีเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ดังนั้น ในฐานะเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุด จึงมีการติดต่อกันเกือบทุกด้าน ก่อให้เกิดการประสานกันทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ ดังจะเห็นได้จากการเล่นพื้นเมืองหลายอย่างซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างลึกซึ้ง เช่น กาหลอ รองเง็ง มะโย่ง สิละ ซัมเป็ง ลอแก สลาเปะ ฯลฯ การเล่นพื้นเมืองของชาวใต้ แม้ว่าจะมุ่งเน้นถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นก็ตาม แต่รสนิยมอย่างหนึ่งทีมี่อยู่ค่อนข้างสูงคือ การใช้ภาษาประกอบการเล่นที่สำคัญ การใช้เพลงเพื่อสื่อสารข่าวคราวก็มีอยู่ในภาคใต้คือ “เพลงบอก” ซึ่งแต่ก่อนใช้เป็นการบอกถึงเรื่องราวของกำหนดวันสำคัญทางศาสนา หรือทางประเพณีนิยม เช่น วันสงกรานต์ ก็แสดงถึงสภาพสังคมซึ่งจับกลุ่มกันอยู่เป็นกลุ่มๆ คนเป็นเจ้าบทเจ้ากลอนจะเป็นผู้บอกกล่าวด้วยเพลงที่ใช้ภาษาและถ้อยคำที่ไพเราะแสดงถึงเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของภาคใต้ ซึ่งมิใช่ทำกันได้ง่ายนัก เพราะคนเจ้าบทเจ้ากลอนนั้น จะต้องมีความรู้รอบตัว โดยเฉพาะหลักธรรมของศาสนา เพราะนอกจากจะบอกกล่าวกำหนดการต่างๆ แล้ว ยังมีการพร่ำพรรณนาถึงธรรมะอันเป็นปัจจัยในการดำเนินชีวิตอีกด้วย จากนั้นก็อาจเป็นคำอวยพรให้ผู้ฟังประสบแต่ความสุขความเจริญ

        สรุปได้ว่า ลักษณะทั่วไปทางสังคมของชาวใต้นั้น แม้ว่าจะต้องประสบปัญหาต่าง ๆ ตั้งแต่ธรรมชาติเป็นต้น แต่ก็ยังสามารถประดิษฐ์สิ่งบันเทิงต่าง ๆ เพื่อบรรเทาความเครียดในยามว่างได้เป็นอย่างดี
 ระบำทวารวดี





 เป็นระบำชุดที่ ๑ ในระบำโบราณคดีที่เกิดขึ้นจากแนวความคิดของนายธนิต อยู่โพธิ์ (อดีตอธิบดีกรมศิลปากร)    ซึ่งต้องการศึกษา และเรียนรู้เรื่องเครื่องแต่งกายของมนุษย์ เพื่อประโยชน์แก่วิชาประวัตศาสตร์ และโบราณคดี โดยทูลขอร้องให้หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งสถาปนิกพิเศษของกรมศิลปากร ทางศึกษาแบบอย่าง และเขียนเลียนแบบเครื่องแต่งการสมัยทวารวดีบางรูป โดยในครั้งแรกคิดจะจัดสร้างเครื่องแต่งกายตามสมัยโบราณคดี ถวายทอดพระเนตรในงานเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการแสดงศิลปะโบราณวัตถุในอาคาร สร้างใหม่ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แต่หลังจากได้ภาพตามต้องการแล้ว จึงเปลี่ยนแนวความคิดใหม่ในการจัดแสดงระบำโบราณคดีชุดต่าง ๆ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทอดพระเนตรแทนการจัดแสดงเครื่องแต่งกาย
        ระบำนี้ประดิษฐ์ขึ้นจากการนค้นคว้าหลักฐานทางโบราณคาดีสมัยทวารวดี ท่ารำและ เครื่องแต่งกายได้แนวคิดจากภาพสลัก ภาพปั้นที่ขุดค้นพบ ณ โบราณสถานที่ตำบลคูบัว อำเภอ อู่ทอง จังหวัดนครปฐมและที่ตำบลโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ ฯลฯ นักโบราณคดี สันนิฐานว่าชาวทวารวดีเป็นต้นเชื้อสายพวกมอญ ดังนั้นลีลาท่ารำ รวมทั้งเนียงทำนองเพลง จึงเป็นแบบมอญ ท่ารำบางท่าได้ความคิดมาจากภาพสลัก และภาพปูนปั้นที่ค้นพบโบราณสถานที่ สำคัญ เช่น

- ท่านั่งพับเพียบ มือขวาจีบตั้งข้อมือระดับไหล่ มือซ้ายวางบนตัก ท่านี้เป็นท่าที่ได้จากภาพปูนปั้น นักร้องนักดนตรีหญิงสมัยทวารวดี
  ซึ่งพบที่ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี

- ท่ามือซ้ายคว่ำฝ่ามือ งอนิ้วทั้ง ๔ เล็กน้อยปรกหู มือขวาหงายฝ่ามือ ปลายนิ้วมือจรดที่หน้าขาเกือบถึงข่าซ้าย เขย่งเท้าซ้าย
  ย่อเข่าทั้ง ๒ ข้างลง กดไหล่ว้าย ลักคอข้างขวา ท่านี้เรียกว่าท่าลลิตะ จากภาพปูนปั้นกินรีฟ้อนรำ ที่ตำบลโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์

- ท่ามือซ้ายจีบหันฝ่ามือเข้าหารักแร้ มือขาวจีบตั้งวงกันศอกระดับไหล่ ดกไหล่ขวา ลักคอทางซ้าย เท้าขวาเขย่ง ส้นเท้าขวาชิดกับข้อเท้าซ้าย
  ซึ่งยืนเต็มเท้า ย่อเข่าทั้ง ๒ ข้างและกับเข่าขวา ท่านี้เป็นท่าที่ได้จากการภาพปูนปั้นที่ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี


    การแต่งกาย
        เครื่องแต่งกายชุดระบำทวารวดี ได้แบบอย่างมาจากภาพปูนปั้น ที่ค้นพบตามสถานที่สำคัญต่าง ๆ สมัยทวารวดี และได้นำมาประดิษฐ์ให้เหมาะสมกับการแสดง ซึ่งมีดังนี้
    ๑. ผมเกล้าสูงกลางศีรษะในลักษณะคล้ายลูกจันแบน สวมเกี้ยวรัดผม
    ๒. สวมกระบังหน้า
    ๓. สวมต่างหูเป็นห่วงกลมใหญ่
    ๔. สวมเสื้อในสีเนื้อ ( แทนการเปลือยอกตามภาพปั้น )
    ๕. นุ่งผ้าลักษณะคล้ายจีบหน้านางสีน้ำตาลแถวหนึ่ง และสีเหลืองอ่อนแถวหนึ่ง มีตาลสีทองตกแต่งเป็นลายพาดขวางลำตัว
    ๖. ห่มสไบเฉียง ปล่อยชายไว้ด้านหน้า และด้านหลัง
    ๗. สวมกำไลข้อมือ ต้นแขนโลหะ และแผงข้อเท้าผ้าติดลูกกระพรวน
    ๘. สวมจี้นาง
    ๙. คาดเข็มขัดผ้าตาดเงิน หรือเข็มขัดโลหะ




ภาพการแต่งกายชุดทวารวดี

   เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง มีดังนี้
    พิณ ๕ สาย
    จะเข้
    ระนาดตัด
    ตะโพนมอญ
    ฉิ่ง
    ฉาบ
    กรับ
  ฟ้อน เทียน




ประวัติความเป็นมา

                ฟ้อน เทียน นับเป็นระบำแบบเย็นๆ แบบหนึ่งตามลักษณะของการฟ้อนของไทยภาคเหนือ ผู้ฟ้อนถือเทียนจุดไฟมือละเล่มทั้ง 2 มือ ตามปกติใช้ฟ้อนในที่กลางแจ้งในเวลาตอนกลางคืน ยิ่งมีนักฟ้อนมากยิ่งดี ถ้าเป็นตอนกลางวันมักจะเป็นการฟ้อนเล็บ เข้าใจว่าฟ้อนเทียนนี้แต่คงจะเดิมเป็นการฟ้อนสักการบูชาแด่สิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ เช่นเดียวกับ Temple dance แต่ก่อนมาแสดงประกอบพิธีเฉพาะในงานสำคัญในพระราชฐาน เช่นในคุ้มหลวง ผู้ฟ้อนโดยมากล้วนเป็นเจ้านายเชื้อพระราชวงศ์ฝ่ายในทั้งสิ้นในสมัยโบราณจึง มีศิลปะที่ไม่สู้จะได้ชมบ่อยนัก ความงามของการฟ้อนอยู่ที่ชมแสงเทียนที่ถือแสงวับๆ แวมๆ จากดวงเทียนที่ถือในมือ การฟ้อนเทียนครั้งสำคัญที่เราได้ยินเลื่องลือกัน เป็นครั้งหลังก็เมื่อคราวพระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงฝึกหัดหญิงชาวเหนือ ให้ฟ้อนถวายรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวคราวเสด็จประพาสมณฑล ฝ่ายเหนือเมื่อ พ.ศ. 2496 และครูนาฏศิลป์ของกรมศิลปากรได้ฝึกจำมา แต่บทร้องใช้ประกอบการรำนั้นมีทั้งบทพระราชนิพนธ์ของเจ้าดารารัศมี และบทที่ประพันธ์ขึ้นใหม่ โดยอาศัยเค้าของเก่า

ลักษณะการแสดง

                ผู้ฟ้อนเป็นหญิงล้วนถือเทียนจุดเทียนมือละเล่ม นิยมแสดงในเวลากลางคืน ความงามของการฟ้อนเทียนอยู่ที่แสดงเทียน เต้นระยิบระยับ ขณะที่ผู้ฟ้อนหมุนข้อมือและลีลาการเคลื่อนไหวช้าๆ เห็นแสงเทียนเดินเป็นทาง มีการแปรขบวน ควงคู่ สลับแถว เข้าวง ต่อเมื่อ ฯลฯ งดงามมาก


การแต่งกาย

                นุ่ง ซิ่นยาวกรอม สวมเสื้อแขนยาว คอปิด คาดเข็มขัดทับ ห่มสไบ เกล้าผมมวยสูง ประดับดอกไม้ล้อมมวย ห้อยอุบะยาวเคลียไหล่ ถือเทียนมือละเล่ม


ดนตรีประกอบ

           1. ปีแน

           2. กลองแอว์

           3. กลองตะโล้ดโป๊ด

           4. ฉาบใหญ่

           5. ฆ้อมโหม่ง

           6. ฆ้องหุ่ย


ฟ้อนเล็บ

ฟ้อนเล็บ แต่เดิมเรียก "ฟ้อนเล็บ" ด้วยเห็นว่าเป็นการฟ้อนที่เป็นเอกลักษณ์ของ "คนเมือง" ซึ่งหมายถึงคนในถิ่นล้านนาที่มีเชื้อสายไทยวน และเนื่องจากการเป็นการแสดงที่มักปรากฏในขบวนแห่ครัวทานของวัดจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ฟ้อนแห่ครัวทาน" ต่อมามีการสวมเล็บที่ทำด้วยทองเหลืองทั้ง ๘ นิ้ว (ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ) จึงได้ชื่อว่า "ฟ้อนเล็บ"

ท่าฟ้อน
การฟ้อนชนิดนี้มีมาแต่ดั้งเดิม คณะศรัทธาของแต่ละวัดมักมีครูฝึกสืบทอดต่อกันมา เมื่อถึงฤดูกาลที่จะมีงานปอยหลวง ซึ่งเป็นงานฉลองศาสนสถาน มักมีการฝึกซ้อม
เด็กสาวในหมู่บ้านเพื่อแสดงในงานดังกล่าวเสมอโดยที่รูปแบบกระบวนและลีลาท่าฟ้อนไม่ได้กำหนดตายตัว แต่ละครูหรือแต่ละวัดอาจแตกต่างกันไป

ในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ได้มีการปรับปรุงและประดิษฐ์ท่าฟ้อนให้ดูอ่อนช้อยงดงามยิ่งขึ้น และบุคคลผู้หนึ่งซึ่งเคยได้รับการถ่ายทอดจากคุ้มเจ้าหลวงได้แก่ ครูสัมพันธ์ โชตนา

ในโอกาสที่ครูสัมพันธ์ได้เข้าไปถ่ายทอดศิลปะการฟ้อนชนิดนี้แก่วิทยาลัย
นาฏศิลปเชียงใหม่ ท่านได้กำหนดท่าฟ้อนไว้ ๑๗ ท่าดังนี้
๑. จีบส่งหลัง ๒. กลางอัมพร ๓. บิดบัวบาน
๔. จีบสูงส่งหลัง ๕. บัวชูฝัก ๖. สะบัดจีบ
๗. กราย ๘. ผาลาเพียงไหล่ ๙. สอดสร้อย
๑๐. ยอดตอง ๑๑. กินนรรำ ๑๒. พรหมสี่หน้า
๑๓. กระต่ายต้องแร้ว ๑๔. หย่อนมือ ๑๕. จีบคู่งอแขน
๑๖. ตากปีก ๑๗. วันทาบัวบาน
ท่ารำต่างๆ ดังกล่าว อาจมีการเพิ่มท่า ตัดตอน หรือลำดับท่าก่อนหลังตามที่ครูจะกำหนด

เครื่องแต่งกาย
การแต่งกายแต่เดิมจะนุ่งผ้าซิ่น สวมเสื้อแขนยาวทรงกระบอกคอกลมหรือคอจีนผ่าอก เกล้าผมมวยโดยขมวดมวยด้านท้ายทอย ทัดดอกไม้ประเภทดอกเอื้อง จำปา กระดังงา หางหงส์ หรือลีลาวดี สวมเล็บทั้งแปดนิ้วต่อมามีการดัดแปลงให้สวยงามโดยประดับลูกไม้ หรือระบายที่คอเสื้อ ห่มสไบเฉียงจากบ่าซ้ายไปเอวขวาทับด้วยสังวาล ติดเข็มกลัด สวมกำไล ข้อมือ กำไลเท้า เกล้าผมแบบญี่ปุ่น ทัดดอกไม้หรืออาจเพิ่มอุบะห้อยเพื่อความสวยงาม

เครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบจังหวะในการฟ้อน จะใช้วงกลอง "ตึ่งโนง"ซึ่งประกอบด้วย
๑. กลองแอว ๒. กลองตะหลดปด
๓. ฆ้องอุ้ย(ขนาดใหญ่) ๔. ฆ้องโหย้ง(ขนาดกลาง)
๕. ฉาบใหญ่ ๖. แนหน้อย
๗. แนหลวง

เพลงที่ใช้บรรเลง
สำหรับเพลงที่ใช้บรรเลงก็แล้วแต่ผู้เป่าแนจะกำหนดอาจใช้เพลงแหย่ง เพลงเชียงแสน เพลงหริภุญชัยหรือลาวเสี่ยงเทียน แต่ส่วนใหญ่จะใช้เพลงแหย่งเพราะช่างฟ้อนคุ้นกับเพลงนี้มากกว่าเพลงอื่น

โอกาสที่แสดง
เดิมจะฟ้อนในงานฉลองสมโภชเพื่อนำขบวนทานหรือเป็นมหรสพในงาน ปัจจุบันมีการแสดงให้นักท่องเที่ยวได้ชมจึงมีปรากฏให้เห็นตามโรงแรม ห้องอาหารโดยทั่วไป

อนึ่งการฟ้อนในลักษณะเดียวกันนี้ ถ้าถอดเล็บออกและขณะที่ฟ้อนก็ถือเทียนไปด้วย เรียกว่า "ฟ้อนเทียน" การฟ้อนโดยลักษณาการนี้มีความเป็นมาว่าในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี มีการแสดงถวาย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ซึ่งเสด็จพระราชดำเนินฯ เชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๙ ในงานถวายพระกระยาหารค่ำ ณ พลับพลาที่ประทับ งานนี้พระราชชายาฯ ทรงให้ช่างฟ้อนเล็บถอดเล็บทองเหลืองออก แล้วให้ถือเทียนทั้งสองมือ เวลาออกไปฟ้อนก็จุดเทียนให้สว่าง การฟ้อนครั้งนั้นสวยงามเป็นที่ประทับใจ จึงเป็นต้นเหตุว่า หากมีการฟ้อนชนิดนี้ถ้าเป็นเวลากลางวันให้สวมเล็บแต่ถ้าเป็นกลางคืนให้ถือเทียน และการที่ฟ้อนเทียนนี่เองเป็นเหตุให้ใช้เพลง "ลาวเสี่ยงเทียน" ประกอบการฟ้อน

ความเป็นเอกลักษณ์
หากจะถามถึงความเป็นเอกลักษณ์ของฟ้อนเล็บแล้ว ถ้าจะตอบว่าคือท่าฟ้อนและการแต่งกายยังตอบไม่ได้เต็มคำเพราะถูกปรับปรุงเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก หรือตอบว่าอยู่ที่เล็บก็ยังไม่ใช่เพราะการรำมโนราห์ของภาคใต้ก็สวมเล็บ การฟ้อนผู้ไทของจังหวัดสกลนครก็สวมเล็บเช่นกันแม้จะมีพู่ไหมพรมสีแดงตรงปลายเล็บก็ตามและคำตอบที่น่าจะใกล้เคียงได้แก่เครื่องดนตรีและเพลงประกอบการฟ้อน และที่น่าจะถูกต้องมากที่สุด เห็นจะได้แก่ ภาพรวมทั้งหมด เพราะใครพบเห็นฟ้อนชนิดนี้ที่ไหน ก็ต้องตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นฟ้อนเล็บ ซึ่งเป็นการแสดงที่อ่อนช้อยงดงามตามแบบฉบับของคนเมืองชาวล้านนาโดยแท้.

สนั่น ธรรมธิ
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(ภาพประกอบโดย อ.สมทรง ชูวุฑฒยากร, อ.ณมน ไชยเศรษฐ โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ และรุจิรา คอทอง)
ระบำกินรีร่อน



“ระบำ กินรีร่อน”เป็นการแสดงที่อยู่ในละครเรื่องพระสุธน-มโนราห์ ซึ่งกรมศิลปากรได้เคยจัดแสดงให้แก่ประชาชนชมมาแล้ว คุณหญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย ของกรมศิลปากร ได้ปรับปรุงและประดิษฐ์ท่ารำให้ประณีตสวยงามและกะทัดรัดเหมาะแก่ผู้ชมซึ่ง เป็นทั้งประชาชนชาวไทย และชาวต่างประเทศประกอบกับเรื่องมโนราห์เป็นวรรณกรรมที่แพร่หลายเป็นที่ รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหลายประเทศ การแสดงชุดนี้จึงได้รับความนิยมยกย่องมากในด้านความวิจิตรสวยงามของกระบวน ท่ารำและเครื่องแต่งกาย

Ads by SmartSaver+ 15×          ระบำ ตามพจนานุกรมแปลว่า การฟ้อนรำ รำหรือฟ้อน ดังนั้น โดยนัยดังกล่าวนี้คำว่า ระบำ รำ หรือฟ้อน จึงไม่แตกต่างกันเลย ดังนั้น ระบำ คือ ศิลปะของการร่ายรำที่แสดงพร้อมกันเป็นหมู่เป็นชุด ไม่ดำเนินเรื่องราว ท่ารำบางครั้งก็มีความหมายเข้ากับเนื้อเรื่อง บางครั้งก็ไม่มีความหมายนอกจากความสวยงาม คำว่า "ระบำ" ย่อมรวมเอา "ฟ้อน" และ "เซิ้ง" เข้าไว้ด้วย เพราะวิธีการแสดงไปในรูปเดียวกัน หากแต่แยกให้เห็นความแตกต่างของท้องถิ่น วิธีร่ายรำตลอดจนการแต่งกายตามระเบียบประเพณีเท่านั้น คำว่า "ฟ้อน" และ "เซิ้ง" เป็นระบำประเภทพื้นเมืองแต่งกายตามเชื้อชาติ ประกอบด้วยเพลงที่มีทำนอง และบทร้องตามภาษาท้องถิ่น เช่น ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนลาวแพน เซิ้งสวิง เซิ้งกระติ๊บ ฯลฯ

ประเภทของระบำ ยังจำแนกออกได้เป็น
          ๑. ระบำแบบดั้งเดิมหรือระบำมาตรฐาน ได้แก่ ระบำที่ฝึกหัดกันเพื่อให้เป็นแบบมาตรฐานที่มีมาแต่ครั้งโบราณ เช่น ระบำสี่บท หรือบางครั้งเรียกว่า "ระบำใหญ่" ต่อมามีผู้ประดิษฐ์ระบำซึ่งเลียนแบบระบำสี่บทขึ้นอีกหลายชุด และถือว่าเป็นระบำมาตรฐานที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เช่น ระบำย่องหงิด ระบำดาวดึงส์ ระบำกฤดาภินิหาร ฯลฯ การแต่งกายประเภทระบำมาตรฐาน ส่วนใหญ่จะแต่งกายในลักษณะที่เรียกว่า "ยืนเครื่อง"
          ๒. ระบำปรับปรุง หมายถึงระบำที่ได้ปรับปรุงขึ้นใหม่ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมต่อการนำไปใช้ในโอกาสต่างๆ แยกได้เป็น
          - ปรับปรุงจากแบบมาตรฐาน หมายถึงระบำที่คิดประดิษฐ์ขึ้นโดยยึดแบบ และลีลา ตลอดจนความสวยงามในด้านระบำไว้ ท่าทางลีลาที่สำคัญยังคงไว้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้งามขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงเพื่อความเหมาะสมกับสถานที่ที่นำไปแสดง
ปรับปรุงจากพื้นบ้าน หมายถึง ระบำที่คิดประดิษฐ์สร้างสรรค์ขึ้นจากแนวทางความเป็นอยู่ของคนพื้นบ้าน การทำมาหากิน ขนบธรรมเนียมประเพณี ในแต่ละท้องถิ่นมาแสดงออกในรูประบำ เพื่อเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่นของตน เช่น เซ้งบั้งไฟ เต้นกำรำเคียว ระบำงอบ ระบำกะลา รองเง็ง ฯลฯ
          - ปรับปรุงจากท่าทางของสัตว์ หมายถึงระบำที่คิดประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ตามลักษณะลีลาท่าทางของสัตว์ชนิดต่างๆ บางครั้งอาจนำมาใช้ประกอบการแสดงโขน ละคร บางครั้งก็นำมาใช้เป็นการแสดงเบ็ดเตล็ด เช่น ระบำนกยูง ระบำนกเขา ระบำมฤครำเริง ระบำบันเทิงกาสร เป็นต้น
ปรับปรุงตามเหตุการณ์ต่างๆ หมายถึง ระบำที่คิดประดิษฐ์ขึ้นใช้ตามโอกาสที่เหมาะสม เช่น ระบำพระประทีป ระบำโคมไฟ ประดิษฐ์ขึ้นใช้แสดงในวันนักขัตฤกษ์ เป็นต้น
ระบำประเภทปรับปรุงขึ้นใหม่นี้ ลักษณะท่ารำจะไม่ตามตัวมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ ตัวบุคคล ตลอดจนฝีมือ และความสามารถของผู้ประดิษฐ์ท่าระบำ รำ หมายถึง การแสดงที่มุ่งความงามของการร่ายรำ หรือการแสดงลีลาท่าทางของผู้รำ

ฉุยฉายยอพระกลิ่น
เผยแพร่เมื่อ 9 ก.ย. 2013
การแสดงละครนอก ประกอบการเสวนาเรื่อง ย้อนรอยดนตรีมณีพิชัย
โดยนักศึกษาหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาดุริยางคศิลป์ไทย รุ่นที่ ๓
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
นำแสดงโดย ดร.รัจนา พวงประยงค์ (ศิลปินแห่งชาติ),นายธีรเดช กลิ่นจันทร์
และนักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
ณ โรงละครวังหน้า สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๖
ละครนอก เรื่องมณีพิชัย ตอนยอพระกลิ่นกินแมว 2
เผยแพร่เมื่อ 9 ก.ย. 2013
การแสดงละครนอก ประกอบการเสวนาเรื่อง ย้อนรอยดนตรีมณีพิชัย
โดยนักศึกษาหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาดุริยางคศิลป์ไทย รุ่นที่ ๓
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
นำแสดงโดย ดร.รัจนา พวงประยงค์ (ศิลปินแห่งชาติ),นายธีรเดช กลิ่นจันทร์
และนักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
ณ โรงละครวังหน้า สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๖
เนื้อเรื่องย่อ "พระบิดาพระมารดาไปเยี่ยมมณีพิชัยที่­ปราสาทและได้พบนางยอพระกลิ่นจึงทำให้นางจั­นทรรังเกียจและคิดจะกำจัดนางยอพระกลิ่น ในคืนหนึ่งนางจันทรฆ่าแมวแล้วลอบเข้าไปในท­ี่พักขณะที่พระมณีพิชัยบรรทมหลับ นางเหน็บหางแมวไว้ที่ผมนางยอพระกลิ่น เอาเลือดแมวป้ายที่ปากนาง และออกเพทุบายกล่าวหานางยอพระกลิ่นเป็นปีศ­าจร้าย จับแมวกิน จึงสั่งให้จับนางใส่หีบและนำไปฝังในป่า แต่เจ้าหน้าที่ไม่กล้าฝังได้แต่วางหีบนั้น­ไว้"
http://youtu.be/6Y7F8WAVqr4
เผยแพร่เมื่อ 2 พ.ค. 2013
สักการะเทวราช (สักการะเทวราช นาฏยกรรมความศรัทธา)
พระราชพิธีอินทราภิเษก เป็นพระราชพิธีในสมัยอยุธยาตอนต้น จัดขึ้นเพื่อสรรเสริญพระมหากษัตริย์ขึ้นเป­็นดั่งพระอินทร์ผู้เป็นกษัตริย์แห่งเทวดาท­ั้งปวง จากการศึกษาพบว่าในตอนท้ายของพระราชพิธีนี­้ จะมีนางระบำและข้าราชบริพารในพระราชสำนักม­าจับระบำ รำ ฟ้อน เพื่อถวายพระเกียรติแด่องค์พระมหากษัตริย์
ผู้ศึกษาผลงานจึงนำแนวคิดการแสดงระบำในช่ว­งท้ายของพระราชพิธีอินทราภิเษก นำมาสร้างสรรค์ผลงานตามจินตนาการ โดยศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ จากเครื่องทรงของพระพุทธรูป ภาพท่ารำจากจิตรกรรมฝาผนัง รวมถึงท่ารำในพระราชสำนักในสมัยอยุธยาตอนต­้น สร้างสรรค์เป็นชุด "สักการะเทวราช"
ผู้สร้างสรรค์ผลงาน นักศึกษาปีที่4 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
นางสาวพิชญา กุมภา
นางสาวกัญชลิกา ศรีเมือง
นายทรัพย์สถิต ทิมสุกใส

ขอขอบคุณเพลงการแสดงในช่วงหลังจาก
เพลงฉิ่งช้างประสานงา คณะกฤษฏิ์ทีม
เรียบเรียงดนตรีโดย คุณ ศุภฤกษ์ รื่นอุดม
สักการะเทวราช (อยุธยา)
เผยแพร่เมื่อ 11 มี.ค. 2012
เป็นการแสดงศิลปนิพนธ์แนวสร้างสรรค์ของ นักศึกษา คณะศิลปนาฏดุริยางค์ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2554 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เป็น ผลงานของ นาย เอกลักษณ์ หนูเงิน นาย คมคาย แสงศักดิ์ และ พี่หนู ...
http://youtu.be/94Vo7Bw4GEE
เผยแพร่เมื่อ 3 เม.ย. 2014
Ads by SmartSaver+ 15×"นริสยะบูชา" (บูชาพระพิฆเศวร) เป็นการแสดงศิลปนิพนธ์แนวสร้างสรรค์ ของ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 รุ่นที่14 คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
ชุด นริสยะบูชา เป็นการแสดงที่ได้แนวคิดมาจากคัมภีร์ปุราณ­ะ ในตำนานที่ 4 พระกฤษณะอวตาร ที่กล่าวถึง การกำเนิดพระพิฆเนศรในฐานะเทพและพระโอรสขอ­งศิวะเทพ โดยนำลีลานาฏศิลป์ไทยผสมผสานกับนาฏศิลป์อิ­นเดีย
ช่วงที่ 1 น้อมถวายสักการะบูชา
ช่วงที่ 2 เฉลิมฉลองยินดี
ผู้สร้างสรรค์ผลงาน
1 . นาย อดิศร มหาสัทธา
2 . นางสาว สุวิมล เสมาปรุ
3 . นางสาว เปมากร ศิระยานนท์
http://youtu.be/GfuiKOtyFqc
เผยแพร่เมื่อ 2 เม.ย. 2014
การแสดงผลงานนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ชุดกีปัสเรนัง
โดย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
นายธวัชชัย กัลปนารถ
กีปัสเรนัง

นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ : ลีลาลายประทีปทองกลองมังคละนาฏยสุโข โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์ จ.สุโขทัย
รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นารายณ์ปราบนนทก
จุดประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเนื้อเรื่องที่อ่าน
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถนำข้อคิดที่ได้จากเรื่องไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
3. เพื่อให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของตัวละครได้

บทละคร เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก
ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ลักษณะคำประพันธ์ กลอนบทละคร
จุดประสงค์ในการแต่ง เพื่อใช้เล่นละครใน และใช้เป็นบทปลุกใจประชาชนให้กล้าหาญ สอนศีลธรรมแก่ประชาชน
ที่มาของเรื่อง บทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ ฉบับระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

ข้อคิดที่ได้รับ
๑. อำนาจตกอยู่ในมือของคนที่ลืมตัว จะเกิดผลร้ายตามมาได้
๒. เมื่อคนมีอำนาจ จะตัดสินใจด้วยความรู้สึกก้าวร้าวรุนแรงได้ง่ายเมื่อคิดว่าถูกรังแก
๓. คนเราควรใช้อำนาจเพียงเพื่อป้องกันตัวไม่ให้รับพิบัติเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อทำลายผู้อื่นเพื่อแก้แค้น
๔. ความหลงอำนาจเป็นกิเลสอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้อยู่ร่วมในสังคมต้องได้รับความเดือดร้อน
๕. วรรณคดีเป็นบทวิจารณ์ชีวิตที่ทำให้คนเราเข้าใจชีวิตของเพื่อนมนุษย์ได้อีกทางหนึ่ง

Ads by SmartSaver+ 15×เนื้อเรื่องย่อ
นนทกนั่งประจำอยู่ที่บันไดของเขาไกลลาศ โดยมีหน้าที่ล้างเท้าให้แก่เหล่าเทวดาที่มาเข้าเฝ้าพระอิศวร ได้ยื่นเท้าให้ล้างแล้วมักแหย่เย้าหยอกล้อ นนทกอยู่เป็นประจำ ด้วยการลูบหัวบ้าง ถอนผมบ้างจนกระทั่งหัวโล้นทั้งศรีษะ นนทกแค้นใจมากแต่ว่าตนเองไม่มีกำลังจะสู้ได้ จึงไปเข้าเฝ้าพระอิศวร แล้วกราบทูลว่า ตนได้ทำงานรับใช้พระองค์มานานถึง 10 ล้านปี ยังไม่เคยได้รับสิ่งตอบแทนใดๆเลย จึงทูลขอให้นิ้วเพชร มีฤทธฺ์ชี้ผู้ใดก็ให้ผู้นั้นตาย
พระอิศวรเห็นว่านนทกปฏิบัติหน้าที่รับใช้พระองค์มานานจึงประทานพรให้ตามที่ขอ ไม่นานนัก นนทกก็มีใจกำเริบ เพียงแต่ถูกเทวดามาลูบหัวเล่นเช่นเคย นนทกก็ชี้ให้ตายเป็นจำนวนมาก พระอิศวรทรงทราบก็ทรงกริ้ว โปรดให้พระนารายณ์ไปปราบ
พระนารายณ์ แปลงเป็นนางฟ้ามายั่วยวน นนทกนึกรักจึงเกี่ยวนาง นางแปลงจึงชักชวนให้นนทกรำตามนางก่อนจึงจะรับรัก นนทกรำตามไปจนถึงท่ารำที่ใช้นิ้วเพชรชี้ขาตนเองนนทกก็ลมลงจากนั้นนนทกเห็นนางแปลงร่างเป็นพระนารายณ์ จึงตอบว่า พระนารายณ์เอาเปรียบตนเพราะว่าพระนารายณ์มีอำนาจ มีถึง ๔ กร แต่ตนมีแค่ ๒ มือ และเหตุใดจึงมาทำอุบายหลอกลวงตนอีก
พระนารายณ์จึงท้าให้นนทก ไปเกิดใหม่ให้มี ๒๐ มือ แล้วพระองค์จะตามไปเกิดเป็นมนุษย์มีเพียง ๒ มือ ลงไปสู้กัน หลังจากที่พระนารายพูดจบก็ใช้พระแสงตรีตัดศรีษะนนทกแล้วนนทกก็สิ้นใจตายชาติต่อมานนทกจึงได้ไปเกิดเป็นทศกัณฐ์ ส่วนพระนารายณ์ก็อวตารลงมาเกิดเป็นพระราม

คำศัพท์
กระเษียรวารี เกษียรสมุทรหรือทะเลน้ำนม
ไกรลาส ชื่อภูเขาที่เป็นที่ประทับของพระอิศวร
คนธรรพ์ ชาวสวรรค์พวกหนึ่ง มีความชำนาญในวิชาคนตรีและขับร้อง
จุไร ผมที่เกล้าเป็นจุกและประดับอย่างสวยงาม
ตรัยตรึงศา ตรัยตรึงศ์หรือดาวดึงส์ แปลว่า ๓๓
ตรี คือตรีศูล เป็นอาวุธสามงาม ปกติเป็นเทพอาวุธของพระอิศวร
เทพอัปสร นางฟ้า
ธาตรี แผ่นดิน,โลก
นนทก,นนทุก ในรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์รัชกาลที่๑ ตัวละครตัวนี้ชื่อว่านนทก
นาคี นาค คืองูใหญ่มีหงอน เป็นสัตว์ในนิยาย
บทบงสุ์,บทศรี ใช้หมายถึงพระบาทของเทวดาหรือกษัตริย์ เป็นต้น
บังเหตุ ประมาท,ทำให้เป็นเหตุ
พระหริวงศ์ พระนารายณ์
พระองค์ทรงสังข์คทาธร พระนารายณ์ ตามคติอินเดียว่ามีสี่กรถือสังข์ จักรคทาและธรณี
ไฟกาล ไฟกัลป์ หรือ ไฟบรรลัยกัลป์
ภักษ์ผล ผลสำเร็จ
ลักษมี ชายาของพระนารายณ์
วิทยา ในที่นี้คือ วิทยาธร ชาวสวรรค์พวกหนึ่งมีวิชาอาคม
สำเร็จมโนรถ ได้ตามต้องงการ
สิ้นท่า ครบทุกท่ารำ
สุบรรณ ครุฑ คือ พญานกในเทพนิยาย
สุรัสวดี ชายาของพระพรหม
โสมนัสา คือคำวา โสมนัยน์ หมายความว่า ยินดี
หัสนัยน์ ผู้มีพันตา หมายถึง พระอินทรเป็นเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
อสุนี อสุนีบาต หมายถึง ฟ้าผ่า
อัฒจันทร์ ในที่นี้หมายถึงขั้นบันได