วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฟ้อนชมเดือน
ฟ้อนชมเดือน      





  ในการฝึกนาฏศิลป์ไทยนั้น  นอกจากจะฝึกท่ารำตามแบบแผน เช่น ฝึกรำเพลงช้า  เพลงเร็ว  รำแม่บท  และฝึกระบำที่เป็นมาตรฐานต่างๆ  ผู้ที่ไม่มีทักษะมักจะรำไม่ค่อยได้  ฉะนั้นครูผู้สอนจึงได้คิดประดิษฐ์ท่ารำอย่างง่ายๆ  เช่น รำโคม รำพัด  และฟ้อน ฯลฯ  โดยดัดแปลงทำนองเพลงที่เรียกว่า  เพลงต่างภาษา  เช่น พม่า  มอญ  จีน  ลาว  แขก  ใช้ทำนองง่ายๆ ประกอบท่ารำที่ไม่ใช่ท่ามาตรฐาน  เพื่อให้ผู้เรียนที่ไม่สามารถรำแบบมาตรฐานได้  จะได้มีโอกาสรำและออกแสดงได้

                    ฟ้อนชมเดือนนี้  ใช้ทำนองลาวลำปาง  เพลงที่มีสำเนียงลาวมักจะใช้รำกับฟ้อน  เนื้อเพลงกล่าวถึงการชมธรรมชาติ  เช่น แสงเดือน  ความงามของผู้หญิง  และการแต่งกาย  ท่ารำได้พยายามเลียนแบบการฟ้อนทางภาคเหนือที่มีลีลาอ่อนช้อยงดงามน่าชม  จึงเรียกการรำชุดนี้ว่า  ฟ้อนชมเดือน

บทเพลงฟ้อนชมเดือน

                                               โอ้เดือนเอยโอ้เดือนดวงงาม              ส่องวาววามแลอร่ามเวหา

                                      โอ้เดือนนี้หนอไป่ยอจันทรา                        ชื่นวิญญาไหนมาเทียมเท่า

                                      โอ้แสงจันทร์เจ้าคลายเศร้าร่มเย็น (ซ้ำ)

                                              สุดสวสยเอยรื่นรวยนารี                    ยามราตรีมีจันทร์วันเพ็ญ

                                      นวลเดือนยั่วเย้าให้สาวเริงเล่น                    ช่างงามจริงหญิงเอยงามเด่น

                                      หากเห็นฤทัยหวนไห้รัญจวน (ซ้ำ)



                   ทำนองเพลงลาวลำปางจบเพียงเท่านี้  แต่ผู้ประดิษฐ์ท่ารำได้เพิ่มท่ารำออกไปอีก  โดยขอให้ท่าครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร  ศิลปบรรเลง)  แต่งทำนองเพลงต่อท้ายเพิ่มขึ้นอีก  เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน   เหมือนดังเช่นเพลงดนตรีที่มีท้ายเพลงสนุกๆ ที่ท่านครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะได้เคยทำมาแล้วในทางดนตรีไทย

                   ผู้แต่งบทร้อง             ดร.คุณหญิงชิ้น   ศิลปบรรเลง

                   ผู้ประดิษฐ์ท่ารำ         อ.ลัดดา   ศิลปบรรเลง

                   การแต่งกาย             แต่งกายแบบฟ้อนของชาวเหนือ  คือนุ่งผ้าซิ่นยาวถึงข้อเท้า  ใส่เสื้อแขนกระบอก  ห่มผ้าสไบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น